ประเภทภูมิปัญญา : ศิลปหัตถกรรม
ชื่อ : นางตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ
ประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนประชาบาลเวียงยอง
จังหวัดลำพูน
ประถมศึกษาปีที่
7 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2544 ปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
โปรแกรมวิชาคหกรรมทั่วไป
สถาบันราชภัฏเชียงราย
ประจำปีการศึกษา 2542-2543
ด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
- เครื่องสักการะล้านนา, งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง
แม่ตุ่นแก้ว
แสนเพ็ญ ได้เริ่มศึกษาเรียนรู้การทำเครื่องสักการะล้านนาด้วยตนเอง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยสืบทอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่
ซึ่งจะใช้เครื่องสักการะล้านนาในงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้แก่
ต้นผึ้ง ต้นเทียน ต้นดอก หมากเบ็ง และหมากสุ่ม
วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องสักการะล้านนาส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ทั่วไปในท้องถิ่น
แต่เนื่องจากไม่สามารถเก็บไว้ใช้งานได้นาน เช่น ต้นผึ้งที่อ่อนตัว
และเสียรูปทรงเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด
ในปี พ.ศ. 2540
แม่ตุ่นแก้วจึงพยายามหาวิธีที่จะทำให้เครื่องสักการะล้านนามีความคงทน
โดยได้ลองนำกาวลาเท็กซ์มาผสมกับขี้ผึ้ง แล้วนำไปทำดอกผึ้ง และพบว่าต้นผึ้งสามารถเก็บไว้ได้นาน
นอกจากนั้นยังได้ใช้วัสดุที่คงทนถาวรไปแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น
การใช้ลิปบริ้นสีเขียวแทนใบมะพร้าว ใช้กระดาษสีเขียวแทนใบพลู เป็นต้น
นอกจากการทำเครื่องสักการะล้านนาแล้ว
แม่ตุ่นแก้วยังเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองประเภทต่างๆ เช่น การทำบายศรี
การจัดพุ่มดอกไม้ พุ่มสักการะ เป็นต้น
โดยได้ทำการศึกษาด้วยตนเองจนเกิดความเชี่ยวชาญ
และเป็นที่รู้จักของผู้คนในจังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2520
จัดทำบายศรีในงานสำคัญทางประเพณีต่างๆ เช่น งานบวชนาค งานแต่งงาน จัดทำบายศรีปากชาม
สำหรับพิธีบวงสรวงเจ้าที่ ศาลพระภูมิ
พ.ศ.
2525 เริ่มเผยแพร่องค์ความรู้ในการทำเครื่องสักการะล้านนา
และการประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
พ.ศ. 2535
จัดทำเครื่องสักการะล้านนาในงาน 4 ชาติสัมพันธ์ ณ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมและเป็นวิทยากรสาธิตการทำหมากเบ็ง
ดอกผึ้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2535
จัดดอกไม้ในงานประเพณี หรืองานเทศกาลต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย เช่น
งานขบวนแห่ในงานพ่อขุนเม็งราย งานลอยกระทง งานสงกรานต์ และงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมของไร่แม่ฟ้าหลวง
และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย
เป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาในการทำบายศรีสู่ขวัญ
กระทงใบตอง และงานประดิษฐ์จากดอกไม้
ใบตองให้กับคณะครูและนักเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย เช่น
โรงเรียนดงมะตื๋น อำเภอเวียงชัย, โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด, โรงเรียนเทศบาล 5,
โรงเรียนบ้านห้วยส้านพลับพลา, โรงเรียนดำรงราษฏร์สงเคราะห์
และโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ฯลฯ
เผยแพร่ความรู้ในการประดิษฐ์ดอกไม้ใบตองให้กับกลุ่มคนที่สนใจทั่วไป
เช่น กลุ่มแม่บ้านชุมชนบ้านสันโค้ง อำเภอเมือง, กลุ่มแม่บ้านป่าตาล อำเภอเทิง,
กลุ่มแม่บ้านป่าก่อดำ อำเภอเมือง, กลุ่มแม่บ้านห้วยพลู อำเภอเมือง
รวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุที่สนใจทั่วไป
เป็นวิทยากรสาธิตการทำเครื่องสักการะล้านนาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เป็นวิทยากรสาธิตการทำเครื่องสักการะล้านนาในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ
ครั้งที่ 8 ณ จังหวัดพิษณุโลก ปี 2536 และครั้งที่ 12 จังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2539 สถานีโทรทัศน์ช่อง 9
ได้มาถ่ายทำวิธีการทำเครื่องสักการะไหว้สา เพื่อเผยแพร่ในรายการ ฒ.ไม่เฒ่า
พ.ศ.
2537 ได้รับประกาศเกียรติคุณที่สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
สถาบันราชภัฏเชียงราย
พ.ศ.
2538 ได้รับโล่ประกาศเกียรติ คุณผู้มีผลงานดีเด่นด้านการประดิษฐ์ดอกไม้
ใบตองแบบล้านนาของจังหวัดเชียงราย
พ.ศ.
2544 ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์
โปรแกรมวิชาคหกรรมทั่วไปของสถาบันราชภัฏเชียงราย
พ.ศ.
2552 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม
ด้านการประดิษฐ์เครื่องสักการะล้านนาของสถาบันราชภัฏเชียงราย
ในโอกาสสถาปนาสถาบันครบรอบ 25 ปี
UTM :2200625
N :19 ํ58.441’
E :099 ํ49.086’
Elevation :387 m
ความคลาดเคลื่อน :+/- 20