ประเภทภูมิปัญญา : ภาษาและวรรณกรรม


โพสเมื่อ : 18 พฤศจิกายน 2564 อัพเดทข้อมูลเมื่อ : 18 พฤศจิกายน 2564 views : 1514

ชื่อ : นายชรินทร์ แจ่มจิตต์

วันเดือนปี เกิด : 27 มิถุนายน 2484
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 173/2 หมู่ที่ 16 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000
เบอร์โทรศัพท์บ้าน
053-713704
เบอร์โทรศัพท์มือถือ
081-7463363
Line
-
Facebook
Email
-
ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2537 ปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา สภาการฝึกหัดครู


ประเภทภูมิปัญญา
ภาษาและวรรณกรรม
ความรู้/ความเชี่ยวชาญ

ด้านภาษาและวรรณกรรม

ประวัติการสืบทอดองค์ความรู้

        อาจารย์ชรินทร์ได้ศึกษาภาษาเขียน และอ่านอักษรธรรมล้านนาเบื้องต้นกับครูบาเสาร์สิทธิ (พระอธิการเสาร์ วิสาโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพระเมธังกรญาณมุนีศรีอุตรประเทศ อุดมเขตคณารักษ์ สังฆปาโมก (อินสม ไชยชมภู ป.) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ณ วัดศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

        ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2497-2499 อาจารย์ชรินทร์ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาตัวอักษร
ไทลื้อที่วัดเมืองแลม สิบสองปันนา โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านภาษากับบรรดาพระสงฆ์ ทำให้เห็นความเชื่อมโยงทางด้านภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไทในลุ่มน้ำโขง ต่อมาได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มนักวิชาการที่สนใจด้านภาษาและเอกสารโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไทที่เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น เจ้ามหาขันธวงศ์

        นอกจากนั้น ยังได้เรียนภาษาไทลื้อใหม่ หรือตัวอริยกะ ในเมืองเชียงรุ่ง เขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้อาจารย์ชรินทร์เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไทในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง  

 

ประวัติการทำงาน/การเผยแพร่องค์ความรู้

      พ.ศ. 2519 ออกหนังสือพิมพ์รายเดือนในรูปหนังสือยก ชื่อ นิตยสารล้านนาถิ่นนิยมไชยนารายณ์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไชยนารายณ์ ซึ่งเน้นสาระที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

      พ.ศ. 2532-2535 เป็นกรรมการร่วมสร้างพจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง

      พ.ศ. 2534 เริ่มทำฟอนต์อักษรล้านนา เพื่อใช้ในโรงพิมพ์  

เป็นผู้รู้ด้านภาษา วรรณกรรม และอักษรล้านนา (ตัวเมือง) อักษรไทลื้อในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

      พ.ศ. 2550-2556 เป็นกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

สร้างและประดิษฐ์อักษรล้านนาและไทลื้อที่ใช้พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Font) ในนาม Cr-Font

      พ.ศ. 2552-2554 ประธานคณะกรรมการสร้างพจนานุกรมล้านนา-ไทย ปริวรรต
ฉบับ 750 ปีเมืองเชียงราย

      ใช้ความรู้ด้านอักขระล้านนาสืบค้นเรื่องราวทางด้านศิลปวัฒนธรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

      ปัจจุบันทำพจนานุกรม ยวน-ล้านนา-ไทย (ปริวรรต) ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

      เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับองค์กร หน่วยงาน สถาบันการศึกษาเนื่องในโอกาสต่างๆ 

รางวัลที่ได้รับ/เกียรติประวัติ

      พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานรางวัลผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย

      พ.ศ. 2551 บุคคลดีเด่นในการสืบสานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา เนื่องในงาน “เปิดบ้านคุณธรรม นำปัญญา กึ๊ดเติงหาอุ้ย” จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเมืองเชียงราย

      พ.ศ. 2553 โล่รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลแห่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น (สาขาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น) โดยจุมนุมเก๊าผญาเจียงฮาย

      พ.ศ. 2556 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “คนดีศรีเชียงราย ประจำปี 2555” ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาภาษาและวรรณกรรม เนื่องในโอกาสสมโภช 750 ปี เมืองเชียงราย

พิกัดทางภูมิศาสตร์
Location :47 Q 0585241
UTM :2200633
N :19 ํ54.006’
E :099 ํ48.859’
Elevation :368 m
ความคลาดเคลื่อน :+/- 20
แผนที่ตั้งบ้าน/องค์กร
ผู้บันทึกข้อมูล
นางสุรีย์ ใจดี, นายอณุสรณ์ บุญเรือง
คำสำคัญ
-,ชรินทร์ แจ่มจิตต์ม